บทความ

ลดความอยากอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ให้เหมาะกับพันธุกรรมของตัวเอง

14/06/2022

ความรู้สึกอยากอาหารมีผลมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เลปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) เป็นหลัก และนอกจากนี้ยังพบว่า ยีน FTO ก็มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และความรู้สึกอิ่มที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งคนที่มียีนนี้มักจะมีความอยากอาหารมากกว่าปกติ และมักจะรู้สึกอิ่มยากหรืออิ่มช้ากว่าคนทั่วไป ทำให้มีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้มีภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและเป็นโรคอ้วนเหมือนที่คุณกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

 

 

เมื่อเราทราบว่าเรามียีนนี้ เราจะปรับตัวหรือปรับพฤติกรรมการกินอาหารอย่างไร มาดูกัน......

 

1. กินอาหารมื้อเช้าทุกวัน มื้อเช้าจัดเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด เพราะว่าร่างกายอดอาหารมาตลอดคืน และการกินมื้อเช้าก็ยังช่วยลดความหิวระหว่างวันและลดการกินจุกกินจิกได้

 

2. เพิ่มการกินโปรตีนและไขมัน แนะนำให้รับประทาน เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ เต้าหู้ ถั่วต่างๆ อะโวคาโด เป็นต้น

 

3. เพิ่มการกินที่อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักใบเขียวต่างๆ ฝรั่ง แอปเปิ้ล ส้ม และธัญพืชที่ไม่ขัดสีโดยเฉพาะ ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

 

4. เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ถั่วและธัญพืชที่ไม่ขัดสีต่างๆ

 

5. ดื่มกาแฟระหว่างมื้อเช้า กาแฟจะช่วยเพิ่มการหลั่งเปปไทด์ YY ในทางเดินอาหาร ซึ่งมีผลทำให้ไม่อยากกินอาหารในระยะเวลาสั้นๆ และยังช่วยลดความอยากอาหารในมื้อถัดไปได้อีกด้วย

 

6. ดื่มน้ำเปล่า การดื่มน้ำ 2 แก้วทันทีก่อนมื้ออาหาร จะกินน้อยลงประมาณ 22% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร และถ้าคุณรู้สึกหิวระหว่างมื้อให้ดื่มน้ำสักแก้วจะช่วยลดความอยากอาหารได้

Back to Blog Space